วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551

บทที่ 9 การสร้างสื่อภาพเคลื่อนไหว

............ภาพเคลื่อนไหว (Animation)
ภาพเคลื่อนไหว เป็นการทำให้วัตถุใดๆ เกิดการเคลื่อนที่ด้วยรูปแบบต่างๆ กันบนจอภาพ
หลักการของอะนิเมชันอะนิเมชัน

.....อาศัยปรากฏการณ์ทางชีววิทยาที่เรียกว่า “ความต่อเนื่องของการมองเห็น” ร่วมกับการทำให้วัตถุมีการเคลื่อนที่ที่ความเร็วระดับหนึ่ง จนตาของคนเรามองเห็นว่าวัตถุนั้นมีการเคลื่อนไหว ภาพแต่ละภาพที่นำมาทำอะนิเมชันเรียกว่าเฟรม (Frame)การเปลี่ยนแปลงภาพที่มองเห็นด้วยความรวดเร็วเป็นหลักการของอะนิเมชันการแสดงผลภาพในโทรทัศน์ 30 เฟรมต่อวินาที เป็นความเร็วที่ทำให้มองเห็นการเคลื่อนไหวที่กลมกลืนถ้าเป็นภาพยนตร์จะบันทึกด้วยอัตรา 24 เฟรมต่อวินาทีแล้วฉายภาพยนตร์ด้วยอัตรา 48 เฟรมต่อวินาที
วิธีการสร้างอะนิเมชัน ทำได้หลายวิธี– แบบเฟรมต่อเฟรม (Frame By Frame)– แบบทวีนอะนิเมชัน (Tween Animation)– แบบแอ็คชันสคริปต์ (Action Script)
เฟรมต่อเฟรม (Frame By Frame)
..........เป็นการนำภาพมาใส่ไว้ในแต่ละเฟรมและทำการกำหนดคีย์เฟรม (คีย์เฟรม คือ เฟรมที่ถูกกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงของวัตถุเพื่อสร้างการเคลื่อนไหว) ถ้ากำหนดคีย์เฟรมมีช่องว่างห่างกันเกินไป การเปลี่ยนแปลงของภาพที่ปรากฏออกมาจากเฟรมหนึ่งไปยังอีกเฟรมหนึ่งก็จะช้าลง การสร้างเคลื่อนไหวแบบ Frame By Frame เหมาะสำหรับภาพอะนิเมชันที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็ว หรืองานที่ซับซ้อนมากๆทวีนอะนิเมชัน
(Tween Animation)
..........Tween (ทวีน) ย่อมาจากคำว่า Between ซึ่งแปลว่า “ระหว่าง”การสร้างภาพแบบ Tween เป็นการกำหนดคีย์เฟรมเริ่มต้นและคีย์เฟรมสุดท้าย จากนั้นให้โปรแกรมสร้างความเปลี่ยนแปลงระหว่างเฟรมโดยอัตโนมัติ
..........ทวีนอะนิเมชันแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
– Motion Tween หรือ Motion Path เป็นการเคลื่อนไหวที่มีการกำหนดการเคลื่อนที่ หมุน ย่อ หรือขยายไปตามเส้นที่วาดไว้ โดยที่รูปทรงวัตถุไม่มีการเปลี่ยนแปลง นิยมใช้มากที่สุด
– Shape Tween เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของวัตถุ จากรูปทรงหนึ่งไปเป็นอีกรูปทรงหนึ่งโดยสามารถกำหนด ตำแหน่ง ขนาด ทิศทาง และสีของวัตถุในแต่ละช่วงเวลาตามต้องการ นิยมใช้กับรูปวาดเท่านั้น
..........การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Tween ช่วยทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง และมีการเคลื่อนไหวที่มีความนุ่มนวลมากกว่าแบบ Frame By Frame
แอ็คชันสคริปต์ (Action Script)
..........เป็นภาษาโปรแกรมที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบ และสามารถโต้ตอบ (Interactive) กับผู้ใช้งานได้ โดย Action Script จะถูกนำมาใช้เมื่อมีการกระทำเกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า เหตุการณ์ (Event) เช่น การคลิกเมาส์ หรือกดคีย์บอร์ด โดยจะนำ Action Script มาใช้โต้ตอบกับ Event นั้น เช่น สั่งให้แสดง Movie เป็นต้น
..........Action Script ไม่สนับสนุนออบเจ็กต์บางตัวที่ระบุอยู่บน Browser เช่น Document, Window, Anchor, Unicode เป็นต้น
เทคนิคในการสร้างอะนิเมชัน
- กำหนดลักษณะการเคลื่อนไหวที่ต้องการทั้งหมด
- เลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับงาน
- กำหนดลำดับการแสดงผลของอะนิเมชันที่ต้องการ
- ทดสอบแสงเงา
- ตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง
- เพิ่มเทคนิคพิเศษต่างๆ และเพิ่มเสียงประกอบให้กับอะนิเมชัน
..........ในอดีตการสร้างอะนิเมชันจะใช้ในการสร้างภาพยนตร์การ์ตูน ซึ่งต้องใช้ฝีมือของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด ตั้งแต่ออกแบบเนื้อเรื่อง การวาดตัวการ์ตูน และสร้างเป็นอะนิเมชัน เรียกการสร้างอะนิเมชันแบบนี้ว่า “เซลอะนิเมชัน (Cel Animation)”
..........ต่อมาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถสร้างอะนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์ได้ เรียกอะนิเมชันที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ว่า “คอมพิวเตอร์อะนิเมชัน (Computer Animation)”การใช้คอมพิวเตอร์จำลองส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อการศึกษา
.........มี 2 แบบ– คีนิเมติก (Kinematic)– มอร์ฟฟิ่ง (Morphing)
คีนิเมติก (Kinematic)
..........เน้นการเรียนรู้ลักษณะ กิริยาท่าทาง และการเคลื่อนไหวของโครงสร้างส่วนที่มีการเชื่อมต่อกัน เช่น ท่าทางการเดินของมนุษย์ ซึ่งจะต้องทำการคำนวณตำแหน่ง จุดหมุน ความเร็ว และความเร่งของการเคลื่อนที่ของข้อต่อต่างๆ ภายในร่างกายมนุษย์ เช่น การงอเข่า ส่ายสะโพก แกว่งไหล่ ผงกศีรษะ เป็นต้น
.....โปรแกรม Fractal’s Poser เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ใช้ในการสร้างรูปแบบร่างกายของมนุษย์ (ผู้ชาย ผู้หญิง ทารก และวัยหนุ่มสาว ในท่าทางต่างๆ กัน เช่น ท่าทางในการเดิน หรือเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ สร้างผิวในรูปแบบของกล้ามเนื้อ ความสัมพันธ์และข้อจำกัดของข้อต่อต่างๆ เช่น มือและช่วงแขนหรือข้อศอกที่ไม่สามารถพับไปด้านหลังได้ ซึ่งหลังจากที่มีการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ แล้วจะให้คอมพิวเตอร์คำนวณผลลัพธ์และทำการสร้างภาพต่อไป
มอร์ฟฟิ่ง (Morphing)
..........เป็นเทคนิคพิเศษที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงภาพให้กลายเป็นวัตถุชนิดอื่นที่แตกต่างกันออกไป โดยจะใช้เทคนิคนี้ได้ทั้งภาพนิ่งและอะนิเมชัน แต่บางครั้งการใช้งานเทคนิคนี้กับอะนิเมชันจะให้งานที่มีคุณภาพดีกว่า ตัวอย่างโปรแกรมลักษณะนี้ เช่น Avid’s Elastic Reality, Black Belt’s Winimages, Gryphon Software’s Morph, Human Software’s Squizz, Ulead’s Morphstudio. Jasc Paint Shop Pro และ Morph Man เป็นต้น
อะนิเมชัน 2 มิติ (2D Animation)
..........ในอดีตอะนิเมชันจะมีลักษณะ 2 มิติ และอยู่ในรูปแบบของภาพยนตร์การ์ตูน เช่น เรื่องโดราเอมอน ดราก้อนบอล สโนไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด ไลอ้อนคิง เป็นต้น โดยภาพในแต่ละเฟรมจะสร้างด้วยวิธีการร่างภาพแบบเซลอะนิเมชัน
..........ในปัจจุบันนอกจากจะพบเห็นบนจอโทรทัศน์ และจอภาพยนตร์แล้ว ยังพบได้ทั่วไปบนเว็บไซต์ต่างๆ เช่น เกมส์และภาพยนตร์การ์ตูนบนเว็บไซต์อะนิเมชัน 2 มิติ (2D)
..........โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างอะนิเมชัน 2 มิติ เพื่อแสดงผลบนเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมากโปรแกรมหนึ่งก็คือ โปรแกรม Macromedia Flash
อะนิเมชัน 3 มิติ (3D Animation)
..........วิธีการสร้างนั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากลักษณะของภาพ 3 มิติจะได้มาจากการคำนวณ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงค่าตัวเลขในขณะคำนวณจะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะต่างๆ ของวัตถุ นอกจากนี้ความหนาแน่นของวัตถุ ทิศทางของแสง ตำแหน่งและทิศทางของกล้องถ่ายภาพ ก็ต้องกำหนดด้วยตัวเลขเช่นกัน สิ่งสำคัญที่จะต้องปฏิบัติคือ กำหนดคุณลักษณะต่างๆ ของวัตถุและลักษณะผิวของวัตถุให้เหมาะสมตามต้องการตั้งแต่เฟรมแรก โดยเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรต่างๆ สร้างพื้นผิวให้กับเฟรมถัดไป และตกแต่งแก้ไขในแต่ละเฟรมตามความเหมาะสม จากนั้นจึงกำหนดช่วงเวลาในแต่ละเฟรมเพื่อให้เป็นอะนิเมชันต่อไป
..........ปัจจุบันผู้พัฒนาหลายรายต้องการสร้างให้อะนิเมชัน 3 มิติมีความใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด เพื่อใช้ในการสร้างสภาวะเสมือนจริงที่เรียกว่า Virtual Reality (VR) ที่พบเห็นทั่วไปในการเล่นเกมส์ และจำลองการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ
การแคปเชอร์ภาพอะนิเมชันและความต่อเนื่องของภาพ (Captured Animation And Image Sequences)
..........การเตรียมภาพสำหรับสร้างอะนิเมชันจะใช้กล้องวิดีโอ ร่วมกับเทคนิคการสร้างภาพอะนิเมชัน โดยเก็บภาพอะนิเมชันแต่ละเฟรมลงบนแผ่นฟิล์มหรือวิดีโอเทป โดยใช้ซอฟต์แวร์โปรแกรมทำหน้าที่ดังกล่าว เช่น โปรแกรม Premiere, AfterEffect, Jasc Animation Shop และ Director ซึ่งสามารถเลือกจัดเก็บภาพอะนิเมชันในแต่ละเฟรม และแสดงผลเพื่อตรวจสอบความต่อเนื่องของภาพได้ตามความต้องการ จากนั้นจึงจัดเก็บข้อมูลและลำดับการแสดงผลเป็นภาพวิดีโอแบบเอวีไอ (*.AVI) ที่ง่ายต่อการใช้งาน
..........สำหรับการสร้างอะนิเมชันโดยไม่อาศัยภาพจากกล้องดิจิตอล ก็สามารถทำได้โดยการวาดภาพด้วยวิธีเซลอะนิเมชัน แล้วสแกนภาพแต่ละเฟรมที่วาดผ่านทางเครื่องสแกนเนอร์ ซึ่งการตัดแต่งภาพแต่ละเฟรมค่อนข้างง่ายกว่าการถ่ายภาพนิ่งด้วยกล้องดิจิตอล และการจัดเก็บข้อมูลก็สามารถจัดเก็บได้โดยตรง ไม่ต้องถ่ายข้อมูลภายหลังเหมือนกล้องดิจิตอล แต่ต้องใช้เครื่องสแกนเนอร์ที่มีความละเอียดสูง เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดและสวยงาม
รูปแบบของไฟล์อะนิเมชัน (Animation File Format)
GIF (Graphics Interlace File)
- ไฟล์ GIF หรือ กิฟอะนิเมชัน Gif Animation ได้รับความนิยมมากเนื่องจากประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ โดยจะจัดเก็บภาพนิ่งเป็นลำดับต่อเนื่องกัน เหมาะกับการใช้งานบนเว็บไซต์ ปัจจุบันเว็บไซต์ทั่วไปสามารถแสดงผลภาพกิฟอะนิเมชันได้ทั้งสิ้น
- Gif89a พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.1989 เป็นรูปแบบหนึ่งของกิฟอะนิเมชัน มักจะเรียกกันว่า อะนิเมทเทดกิฟ (Animated Gif)
- ปัจจุบันมีหลายโปรแกรมที่สนับสนุนการสร้างกิฟอะนิเมชัน เช่น โปรแกรม Animagic Gif, Premiere และ Flash ซึ่งสามารถจัดเก็บกิฟอะนิเมชันได้ทั้งสิ้น
- มาตรฐานอะนิเมชันที่ผลิตในรูปแบบของวิดีโอ และภาพยนตร์เอวีไอ (AVI Movie) ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยสามารถแก้ไข ผสมผสานกับคลิ๊ปอะนิเมชัน (Animation Clip) อื่นๆ เพิ่มเติมเทคนิคพิเศษ และเตรียมเป็นทรัพยากรสำหรับใช้งานในผลิตภัณฑ์มัลติมีเดียได้ อย่างไรก็ตามคลิ๊ปอะนิเมชันจะมีลักษณะเฉพาะบางอย่างมีผลต่อการใช้งาน โดยเฉพาะรูปแบบของการวาด ลักษณะรูปร่าง และพื้นผิวที่ราบเรียบของภาพอะนิเมชันอีกทั้งยังมีการสูญเสียของข้อมูลน้อยกว่าไฟล์วิดีโอ ตัวอย่างเช่น การแปลงไฟล์แบบเอวีไอเพื่อแสดงผลเป็นการ์ตูนกิฟอะนิเมชันและเพิ่มเติมเทคนิคให้อะนิเมชันแต่ละเฟรมแลดูมีเงาแสงใกล้เคียงความจริงมากที่สุด ด้วยความละเอียด 256 สี หลังจากนั้นก็นำภาพแต่ละเฟรมมาจัดลำดับการแสดงผลด้วยโปรแกรม Animagic Gif และจัดเก็บอะนิเมชันในรูปแบบกิฟอะนิเมชันต่อไป พื้นที่ที่เก็บข้อมูลกิฟอะนิเมชันจะใช้เพียง 1.01 Mb เท่านั้น
JPG (Joint Photographer’s Experts Grop)
- เป็นไฟล์ภาพที่ใช้งานบนระบบเครือข่าย มีโปรแกรมสนับสนุนในการสร้างจำนวนมาก สามารถเรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว มักใช้ในกรณีที่ต้องการนำเสนอภาพที่มีความละเอียดสูง (สนับสนุนสีถึง 24 bit) ใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกน มีระบบแสดงผลตั้งแต่ความละเอียดน้อยๆ และค่อยๆ ขยายไปสู่ความละเอียดสูง โดยผู้ใช้สามารถกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ได้ตามต้องการ (ค่าของการบีบอัดไฟล์อยู่ระหว่าง 1-10) ไฟล์ที่ได้จึงมีขนาดเล็ก แต่ก็มีข้อเสียคือ ไม่สามารถทำให้พื้นภาพโปร่งใสได้ และเมื่อมีการส่งภาพจาก Server ไปแสดงผลที่ Client จะทำให้การแสดงผลภาพช้ามาก เพราะต้องเสียเวลาในกาคลายไฟล์ ดังนั้นการเลือกค่าการบีบอัดไฟล์ ควรกำหนดให้เหมาะสมกับภาพแต่ละภาพ
PNG (Portable Network Graphics)
- เป็นไฟล์ที่ทำพื้นภาพให้โปร่งใสได้ สนับสนุนสีได้ตามค่า “True Color” (16 bit, 32 bit หรือ 64 bit) มีระบบแสดงผลตั้งแต่ความละเอียดน้อยๆ และค่อยๆ ขยายไปสู่รายละเอียดที่มีความคมชัดมากขึ้น (Interlace) โดยผู้ใช้สามารถกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ได้ตามต้องการ ไฟล์ที่ได้มีขนาดเล็ก แต่หากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง ก็จะต้องใช้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย
- โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย ไม่สามารถเรียกดูกับ Graphic Browser รุ่นเก่าได้ เป็นไฟล์ที่สนับสนุนเฉพาะ IE 4 และ Netscapeซอฟต์แวร์สำหรับเทคโนโลยีอะนิเมชันFlashPlayer เป็นโปรแกรมที่สามารถสร้างภาพมัลติมีเดียที่ทำให้ Browser รู้จักกับไฟล์ได้ สามารถใช้งานบน Opera BrowserFlash โปรแกรมสำหรับสร้างงานทางด้านสื่อที่หลากหลายทั้งภาพและเสียง เช่น สร้างภาพกราฟิก สร้างงานอะนิเมชัน สร้างภาพเคลื่อนไหวให้กับงาน สร้างงานอินเตอร์แอ๊กทีฟ(Interactive) ให้สามารถโต้ตอบได้
.....Shockwave เป็นโปรแกรมที่สามารถแสดงกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง รวมทั้งสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้
.....Macromedia Director เป็นโปรแกรมที่สามารถสร้างไฟล์ข้อมูลสำหรับเล่นกับปลั๊กอินได้
.....Macromedia Flash เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย กราฟิกสำหรับงานเว็บ
.....TrueSpace โปรแกรมสร้างรูปทรง 3 มิติ สามารถใช้สร้างรูปมนุษย์ ใบหน้า อารมณ์ต่างๆ และการวดรูปทรงเรขาคณิตได้
......Easy Gif Animator โปรแกรมช่วยทำภาพ
.....Gif Animation สามารถฟรีวิวภาพตัวอย่าง และสามารถกำหนดรายละเอียดของภาพในแต่ละเฟรมได้Cad4 โปรแกรมสำหรับงานออกแบบภายใน เช่น อาคาร บ้านเรือน โรงงาน เป็นต้น
.....3D Browser Light โปรแกรมช่วยในการทำงานกับไฟล์ภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ2
.....0-Sim Pro Viewer โปรแกรมสร้างภาพเสมือนและจำลองระบบการทำงานต่างๆ ด้านวิศวกรรม
.....Mosaic Magic โปรแกรมสร้างภาพโมเสก สามารถเลือกใช้
.....Font FX เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างภาพอะนิเมชัน
.....SWISH โปรแกรมสร้างเว็บเพจในรูปแบบอินเตอร์แอ๊กทีฟ (Interactive) เช่นเดียวกับ FlashFlying Pop Corn 2001 โปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว มีเครื่องมือที่เหมาะแก่การใช้งาน
.....3D Canvas เป็นโปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติ แบบเรียลไทม์
.....Moho โปรแกรมสร้างการ์ตูนหรืออะนิเมชันในรูปแบบ 2 มิติ
.....CADMAX Solid Master โปรแกรมออกแบบจำลองทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ
.....SendPic เป็นโปรแกรมสำหรับดัดแปลงคุณลักษณะต่างๆ ของรูปภาพ
.....Famous3dproducer โปรแกรมสำหรับการสร้างภาพอะนิเมชันแบบเหมือนจริง
.....Xara X เป็นโปรแกรมที่สามารสร้าง Vector Graphic ได้
.....CoffeeCup Firestarter เป็นโปรแกรมที่สำหรับสร้าง
.....Flash Animation3D Explortion โปรแกรมสำหรับสร้างภาพ 3 มิติ
.....Adobe Atmosphere โปรแกรมออกแบบภาพกราฟิกแบบ 3 มิติ
.....Design CAD เป็นโปรแกรมออกแบบสิ่งพิมพ์และงานมัลติมีเดียต่างๆ ประเภท
.....Cad/CamBabarosa โปรแกรมช่วยสำหรับการสร้างภาพ Gif Animation หรือทำแบนเนอร์บนเว็บ
อะนิเมชันบนระบบเครือข่าย

- การใช้ภาพอะนิเมชันบนระบบเครือข่าย สามารถช่วยสรุปความคิด จินตนาการมาเป็นข้อมูลที่สื่อสารได้ง่าย สร้างระบบการถ่ายทอดที่มีความเด่นชัด แปลความหมายได้อย่างรวดเร็ว สร้างระบบการเรียนรู้ แนวคิดใหม่ๆ ค่านิยมทางความคิดที่งดงาม ความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจและสังคม จะช่วยดึงดูดความสนใจจากผู้เข้าชมได้โดยการนำมาภาพอะนิเมชันเข้าไปในเว็บเพจ แต่ต้องระวังเรื่องขนาดของไฟล์ที่จะนำมาใช้ เนื่องจากหากเป็นภาพที่มีขนาดใหญ่จะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บเป็นจำนวนมาก และจะทำให้ใช้เวลาในการดาวน์โหลดภาพอะนิเมชันนานเกินไป
- สิ่งสำคัญที่ตามมาก็คือ เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล ซึ่งการบีบอัดทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น และใช้พื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์น้อยลง โดยไฟล์ที่นิยมใช้บนระบบเครือข่าย คือ GIF Animation, JPG และ PNG
อาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานอะนิเมชัน
- งานภาพยนตร์และโทรทัศน์ เป็นการที่นำงานอะนิเมชันไปใช้มากที่สุด เช่น ภาพยนตร์ที่ใช้ Computer Graphic หรือการใส่ Special Effect ต่างๆ ลงในภาพยนตร์
- งานพัฒนาเกมส์ ในปัจจุบันจะเห็นว่าเกมส์คอมพิวเตอร์ส่วนมากจะเป็นเกมส์ 3 มิติ ดังนั้นงานด้านนี้ก็ถือว่าเป็นงานที่มีความน่าสนใจด้านหนึ่ง
- งานสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง จะมีความสะดวกมากข้นหากใช้อะนิเมชันมาช่วย เนื่องจากงานออกแบบเป็นงานที่ต้องการความละเอียดและมีความซับซ้อนมาก เช่น งานเขียนแบบอาคาร งานตกแต่งภายใน เป็นต้น
- งานด้านวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันงานด้านวิทยาศาสตร์ได้มีความก้าวหน้าไปมาก ดังนั้นเครื่องมือแบบเก่าจึงไม่สามารถรองรับการค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ ได้ เช่นการสร้างโมเดลจำลองเพื่อให้เป็นภาพต่างๆ ที่เกิดจากการสมมติฐาน
- งานพัฒนาเว็บไซต์ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งจากการใช้งาน 3 มิติบนเว็บไซต์สามารถใช้ดึงดูดความสนใจให้มีผู้เข้ามาชมเว็บไซต์ได้เป็นจำนวนมาก

ไม่มีความคิดเห็น: